นายนิรันดร์ กล่าวว่า ในช่วงปี 2550 สภากทม.และสภาจังหวัดฟุกุโอกะได้ทำข้อตกลงฉันมิตรเป็นสภาบ้านพี่เมืองน้องร่วมกัน รวมทั้งญี่ปุ่นและไทยมีความสัมพันธ์ที่ดีในระดับชาติและท้องถิ่นต่อกัน ซึ่งตลอดระยะเวลาได้มีการหารือแลกเปลี่ยนข้อราชการและนำมาสู่ความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ทั้งการรับมอบรถดับเพลิงจากสภาจังหวัดฟุกุโอกะ และมีการส่งเสริมและสร้างความเชื่อมั่นต่อกันในด้านสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว เศรษฐกิจ โดยการเดินทางเยือนครั้งนี้ทางสภากรุงเทพมหานครให้ความสนใจในการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม และมาตรการป้องกันน้ำท่วม ภัยพิบัติต่างๆของจังหวัดฟุกุโอกะ ซึ่งมองว่าเมืองฟุกุโอกะเป็นตัวอย่างของการแก้ปัญหาและพัฒนา ควรยึดรูปแบบเพื่อนำไปปรับใช้เป็นนโยบายที่ต้องชัดเจนและแก้ไขปัญหาได้จริง ทั้งนี้กรุงเทพมหานครยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุทกภัยและภัยพิบัติได้ ควรมีความจริงจังและมีแบบแผนระยะสั้น ยะระยาว ทั้งต้องสร้างการเรียนรู้ให้กับประชาชนเพราะไม่ใช่เรื่องไกลตัว นายนิรันดร์ กล่าวอีกว่า จังหวัดฟุกุโอกะนั้นมีจำนวนประชากรใกล้เคียงกับกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเมื่อปี 2500-2510 เมืองฟุกุโอกะประสบปัญหามลพิษและปัญหาขยะอย่างหนัก ต่อมาภายหลังได้วางนโยบายและดำเนินงานอย่างจริงจัง โดยออกกฎหมายในการควบคุม บริหารจัดการขยะรีไซเคิลโดยรัฐบาลและมีการควบคุมกลุ่มเอกชน ซึ่งเปลีายนขยะเป็นเม็ดเงินเข้ารัฐ ซึ่งได้รับความร่วมมือทุกภาคส่วนจึงเห็นผลในปัจจุบัน รวมทั้งการบำบัดน้ำเสีย ก็ออกกฎหมายบำบัดน้ำเสีย ตั้งโรงงานบำบัดน้ำเสียใกล้แม่น้ำคูคลอง ซึ่งรัฐบาลและจังหวัดฟุกุโอกะสามารถควบคุมและบริหารจัดการ จัดเก็บค่าบำบัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามการพัฒนาและแก้ไขปัญหาต้องได้รับการสนับสนุนอย่างเเท้จริงจากรัฐบาล ท้องถิ่นและทุกภาคส่วน ซึ่งเมืองฟุกุโอกะคืออย่างที่ประสบความสำเร็จที่กทม.ควรนำไปปรับใช้ ด้านนายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อม สภากทม. กล่าวเพิ่มว่า สภากรุงเทพมหานครชุดปัจจุบันเล็งเห็นความสำคัญและประโยชร์ในอนาคตกับประชาชน จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมวิสามัญฯในด้านการออกข้อกฎหมายรีไซเคิลรอร์ และจัดเก็บค่าบำบัดน้ำเสีย โดยทางสมาชิกสภากทม.ได้มีการศึกษาถึงหลักการและเหตุผลและมีความเหมาะสมเป็นประโยชน์กรุงเทพสูงสุด ซึ่งในส่วนนี้ผ่านความเห็นชอบจากสภากทม.แล้วและได้ส่งต่อให้ผู้บริหาร และรัฐบาลพิจารณาขั้นต่อไป |
ข่าว >